ผ่านไปแล้วกับการเปิดตัว iPhone 5s กับ iPhone 5c ที่หลายๆคนรอคอย ไม่รู้ว่าจะถูกอกถูกใจสาวกคนไหนบ้างรึเปล่า และเราคงไม่ได้พูดลึกถึงฟีเจอร์และความสามารถที่มันเพิ่มขึ้นมา เพราะคิดว่าคงมีใครหลายๆ คนเขียนถึงมากมายก่ายกองให้อ่านจนเต็มไปหมด และถ้าถามความเห็นส่วนตัว คงอยากจะพูดถึง “ความน่าตื่นเต้น” หรือ Excitement มากกว่าว่าเดี๋ยวนี้พวกงานเปิดตัวสินค้าใหม่หลายๆอย่างไม่ว่าจะเป็นของ Apple, Samsung, หรือเจ้าอื่นๆ มันไม่ค่อยน่าลุ้น น่าตื่นเต้นแล้วสักเท่าไหร่ เพราะข่าวลงข่าวลือแต่ละข่าวที่ออกมานั้น ข้อมูลบางทีมันค่อนข้างที่จะแม่นยำและ accurate มากๆ อย่างงานเปิดตัว iPhone 5c กับ 5s รอบนี้ เอ่ออคือ ข้อมูบแทบจะ 90% แม่นเป๊ะๆ จริงไหม?

แต่สิ่งที่เราค่อนข้างจะสนใจมากในงานเปิดตัวรอบนี้ก็คือ “Fingerscan sensor” หรือเจ้าปุ่ม Home ของ iPhone ในรุ่นก่อนๆ นี้เองที่จะแฝงฟังชั่นและฟีเจอร์การตรวจสอบลายนิ้วมือ “Touch ID” เข้ามาด้วย
คำถามก็คงจะลอยมาว่า ทำไมล่ะ? กะอีแค่ตรวจสอบลายนิ้วมือ เพื่อแทนที่การใช้ passcode อะไรพวกนี้มันน่าสนใจตรงไหน เพราะโทรศัพท์มือถือในรุ่นๆอื่นๆของ Android ก็มีบางรุ่นที่มีฟังชั่นและฟีเจอร์นี้อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น


หรือแม้แต่เจ้า HTC ONE MAX ที่มีข่าว (ลือ) ว่าจะมี Fingerprint scanner เช่นกัน ฉะนั้น Apple ไม่ใช่เจ้าแรกนะ ที่มีการเอา Fingerprint scanner หรือ Fingerscan sensor มารวมอยู่ใน smartphone ของตัวเอง
ใช่แล้ว Apple อาจจะไม่ใช่เจ้าแรกที่ทำ แต่ด้วยนิสัยของ Apple เขามักต้องการจะเป็นเจ้าที่ทำแล้วดีที่สุด ใช้ง่ายที่สุด และในช่วงเวลาที่เหมาะสม …. ยังไงล่ะ? คงต้องเท้าความกันเล็กน้อย Technology ที่ Apple ใช้ในตัว Fingerprint scanner หรือ Touch ID เนี้ยเป็น Technology ที่ Apple ไปซื้อมาจากบริษัท AuthenTec ด้วยสนราคาที่ $356 ล้าน USD / หรือถ้าคิดเป็นเงินไทยที่เรตปัจจุบันก็ราวๆ 11,392 ล้านบาทเอง ….. O_o
เจ้าเทคโนโลยีตัว Touch ID ที่ Apple ซื้อมานี้มันเจ๋งสักแค่ไหนนะ ทำไมต้องยอมลงทุนเป็นหมื่นล้านซื้อมา ก็อย่างที่บอกไปแหละว่า โดยนิสัยของ Apple แล้วเขาชอบที่จะทำอะไรให้ Simple เรียบง่าย และต้องใช้ง่าย และถ้าจะทำแล้วก็ต้องทำให้ดีที่สุด และ Technology ตัวนี้มีดีกว่าเจ้าทั่วๆไปที่
– สามารถอ่านลายนิ้วมือได้ แม้จะนิ้วมือจะอยู่ในสภาพที่เปื้อนเหงื่อ มีคราบสกปรก หรือเป็นแผล เพราะ Touch ID จะอ่านค่าจากลายนิ้วมือที่อยู่ใต้ผิวหนัง มีค่าความผิดพลาดแค่ 0.1% (EER : Equal Error Rate)
– Touch ID มีระบบจดจำและเรียนรู้ ฉะนั้นทุกๆครั้งที่มีการอ่านค่าลายนิ้วมือ ข้อมูลลายนิ้วจะถูกปรับปรุงตลอด
– Touch ID ใช้ Blackfin processor ที่มีขนาดเล็ก กินไฟน้อยมาก และที่สำคัญอ่านค่าได้รวดเร็วสุดๆ
นอกจากนี้เรามาดูกันว่า “ช่วงเวลาที่เหมาะสม” หมายถึงอะไร
นี้เป็นข้อมูลการคาดการณ์เกี่ยวกับ Mobile Payment ในอเมริกา โดย eMarketer.com และหากเราสักเกตุดีดีจะพบว่าช่วงปี 2012 / 2555 ที่ผ่านมาการเจริญเติบโตของผู้ใช้ Mobile Payment เติบโตถึง 160.7% และมูลค่าการจ่ายเงินผ่าน Mobile Payment เติบโตกว่า 225.6% และในปี 2013 นี้ เขาประเมินว่ามูลค่าการจ่ายเงินผ่าน Mobile Payment จะทะลุ $1 Billion USD (หรือราวๆ 3หมื่นล้านบาท)
ด้วยระดับการเจริญเติบโตที่เกิน 100% ทั้งมูลค่าและจำนวนผู้ใช้ นั้นบ่งบอกถึงพฤติกรรมของผู้ใช้ Smartphone ที่เริ่มเปลี่ยนไปหันมาทำธุรกรรมต่างๆ ผ่าน Smartphone กันมากขึ้นแบบก้าวกระโดด ซึ่งหากเรามองย้อนกลับไปเมื่อปี 2012 ที่ Apple ได้เปิดตัว iPhone 5 และ “Passbook” ซึ่งก็เทียบเท่ากับกระเป๋าตังบนมือถือ ที่ใช้เก็บตั๋วเครื่องบิน คูปอง หรือบัตรผ่านและอะไรต่อมิอะไรต่างๆ
และมาปีนี้ Apple ก็เปิดตัว iPhone 5s พร้อม Touch ID (Fingerprint scanner) อีกต่างหาก ซึ่งแน่นอนถ้าถามคนทั่วๆไปว่ามีสแกนนิ้วแล้วมันดียังไง คนส่วนใหญ่ก็คงตอบว่า “ก็ดี” คงใช้รูดปรื้ดผ่านหน้าจอ Lock Screen ไม่ต้องมานั่งกดพาสเวิร์ด หรือถ้าเป็นคนใช้แบบ Advance หน่อยก็คงมองไปถึงการใช้ซื้อเพลง ซื้อ App หรือซื้อหนัง โดยไม่ต้องใส่พาสเวิร์ด Apple ID แตะปุ่ม Home ปั้ปพร้อมโหลด App ปุ๊ป ซึ่งก็จริงอย่างที่เขาคิดกันนั้นแหละ
“Your fingerprint is the perfect password. You always have it with you. And no two are exactly alike. So it made sense to create a simple, seamless way to use it as a password”
แต่…. ถ้าลองมาคิดดูกันอีกขึ้นนึง ทำไม Apple ต้องยอมลงทุนระดับหมื่นล้านบาท เพื่อนำเทคโนโลยีตัวนี้มาใช้แทนแค่ Passcode หรือ Apple ID เองหรือ?
เราก็คิดไปคิดมาแล้วก็คิดว่า สิ่งที่ Apple กำลังทำอยู่ตอนนี้เนี้ย ไม่น่าจะใช่จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการลงทุนด้วยเม็ดเงินมหาศาลขนาดนั้น แต่สิ่งที่ Apple กำลังทำอยู่ตอนนี้เป็นแค่ขั้นเริ่มต้นของสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าในปลายทาง ขั้นเริ่มต้นที่ว่านี้คือการที่ Apple กำลังพยายามให้ผู้ใช้ iPhone ทั้งหลายค่อยๆเรียนรู้เทคโนโลยีตัวนี้ โดยเริ่มจากสิ่งที่ผู้ใช้รู็จักและใช้งานคุ้นเคยอยู่แล้ว ซึ่งก็คือ
– การนำมาใช้แทนหรือควบคู่ในการเปิดล็อค iPhone กับ Passcode จากเดิมที่ต้องกดแต่รหัสตัวเลขอย่างเดียว
– การนำมาใช้แทนหรือควบคู่ในการซื้อ App ผ่าน App Store กับ Apple ID จากเดิมที่ต้องคอยจดจำและพิมพ์รหัสทุกครั้งในการซื้อ
มันคือการปลูกฝังความเชื่อใจในเทคโนโลยี ในนวัตกรรม ว่า Touch ID นั้นใช้งานได้จริง ง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่ยุ่งยาก และ bottom line สุดท้ายคือ “ความปลอดภัย”
ทีนี้เรามาลองมอง Apple ในภาพใหญ่กันบ้างว่า เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี หากว่าผู้ใช้ iOS ต่างคุ้นเคยกับการใช้งาน Touch ID กันหมดแล้วนั้นหมายถึงอะไร
1) Apple มี iTunes Store มี App Store (Ecosystem ที่เป็นของตนเอง)
2) Apple มี Contents ต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเพลง หนัง Applicationsต่างๆ
3) Apple มี Devices ที่เป็นของตนเองและเป็นที่นิยมมีผู้ใช้งานทั่วโลกอย่าง iPhone, iPad, iPod, etc
4) Apple มีระบบกึ่ง Currency อยู่แล้วกับ iTunes Credits / iTunes Gift Card
5) Apple เชื่อมต่อ Ecosystem ของตนเองกับธนาคาร บัตรเครดิตหลักทั่วโลก (Mastercard, Visa, etc)
หากมองกันง่ายๆ ใน Ecosystem ของ Apple จะมีผู้เล่นต่างๆ ดังนี้
ผู้ขาย (Merchant) = Apple
สินค้า (Products&Services) = Music, Movie, Application, etc
ผู้ซื้อ (Buyer) = iOS users
ตลาด (Market) = iTunes Store, App Store (Apple Ecosystem)
สกุลเงิน#1 ที่ใช้ในการซื้อสินค้า (Currency) = iTunes Credit via iTunes Gift Card
สกุลเงิน#2 ที่ใช้ในการซื้อสินค้า (Currency) = Users’ credit cards via Bank
ตอนนี้ใน Apple Ecosystem อาจจะใช่ที่ผู้ขาย (Merchant) นั้นมีแค่ Apple เท่านั้น แต่หากเราดูว่าจำนวนยอดขาย iPhone ตั้งแต่เปิดตัวเมื่อปี 2007 ตราบจนปัจจุบันนี้ ขายไปแล้วทั้งสิ้น 387ล้านเครื่อง
ด้วยตัวเลขจำนวนผู้ใช้ขนาดนี้ หมายถึงมูลค่าตลาดและกำลังซื้อมหาศาล ฉะนั้น Apple ไม่น่าจะมีปัญหาในการหา Partners เจ้าอื่นๆ มาเข้าร่วม มาเป็นผู้ขาย มาเป็น Merchant ใน Ecosystem ของตนเองเลย
Apple’s fiscal year ends in September. This means that Q1 includes the holiday season, which accounts for jumps in the data.
Fiscal Year | Q1 | Q2 | Q3 | Q4 | Total sold |
---|---|---|---|---|---|
2007 | 270,000[1] | 1,119,000[2] | 1,389,000 | ||
2008 | 2,315,000[3] | 1,703,000[4] | 717,000[5] | 6,890,000[6] | 11,625,000 |
2009 | 4,363,000[7] | 3,793,000[8] | 5,208,000[9] | 7,367,000[10] | 20,731,000 |
2010 | 8,737,000[11] | 8,752,000[12] | 8,400,000[13] | 14,100,000[14] | 39,989,000 |
2011 | 16,235,000[15] | 18,647,000[16] | 20,338,000[17] | 17,073,000[18] | 72,293,000 |
2012 | 37,044,000[19] | 35,064,000[20] | 26,028,000[21] | 26,910,000[22] | 125,046,000 |
2013 | 47,789,000[23] | 37,343,000[24] | 31,241,000 [25] | 116,373,000 | |
Fiscal Year | Q1 | Q2 | Q3 | Q4 | 387,446,000 |
ตารางข้อมูลจาก commins.wikimedia.org
ฉะนั้นหากเรามองว่าในอนาคตหากผู้ขายเนี้ยไม่ได้มีแค่ Apple ล่ะ แต่มี Partners เจ้าอื่นๆ เข้ามาด้วยเช่น Starbucks
– อยากกิน Starbucks จัง เปิด iTunes Store ใน iPhone
– กดเข้าหน้า Partners แทนที่จะเป็น Music, Movie
– เลือก Starbucks พร้อมเลือก Caramel Macchiato สักแก้ว
– กดสั่งซื้อ โดยการ verify payment ผ่าน Touch ID
– Starbucks Voucher/Coupon สำหรับรับ Caramel Macchiato ก็ส่งดึ๋งงเข้ามาใน Passbook App
– เที่ยงปุ๊ปเดินลงไป Starbucks พร้อม โชว์ Voucher/Coupon ผ่าน Passbook พร้อมแตะ NFC และ Touch ID เพื่อ Redeem
– Caramel Macchiato อุ่นๆ อร่อย
และนี้น่าจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไม iPhone ยังไม่มี NFC สักที นั้นเป็นเพราะ Apple มองว่ายังไม่ถึงเวลาที่พร้อมจะใช้ และถ้าหากว่า Apple มีจุดหมายที่จะลุยตลาด Mobile Payment จริงๆแล้ว เรามองว่า NFC จะเป็นสิ่งสุดท้ายที่ Apple จะนำมาใช้กับ iPhone
http://www.analog.com/en/content/authentic_fingerprint_matching_with_blackfin/fca.html << ข้อมูล AuthenTech Fingerprint Sensor
http://www.emarketer.com/Article/US-Mobile-Payments-Top-1-Billion-2013/1010035 << ข้อมูล Mobile Payment ของ emarketer.com